จิตวิทยามีประโยชน์จริงรึเปล่า?

psychology

มีความเข้าใจในพฤติกรรมของมนุษย์

คนเรามีอวัยวะที่ครบถ้วนเหมือนกัน แต่ละคนมีความแตกต่างอยู่ในตัวคนๆ นั้นไม่มากก็น้อย Continue reading “จิตวิทยามีประโยชน์จริงรึเปล่า?”

บิดาแห่งจิตวิทยาโลกคือใคร

ย้อนไปเมื่อ 161 ปีที่แล้ว เมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2399 ซิกมันด์ ฟรอยด์ แพทย์และนักจิตวิทยาชาวออสเตรเลียเชื้อสายยิว ซึ่งเป็นบิดาของ ทฤษฎีจิตวิเคราะห์ ลืมตามาดูโลก เค้าเกิด

Continue reading “บิดาแห่งจิตวิทยาโลกคือใคร”

เทคนิคการอ่านใจคนด้วยจิตวิทยา

มนุษย์ เรามีความซับซ้อนทางจิตใจ สมอง และการแสดงออกมาก ทำให้การ อ่านใจคน เป็นเรื่องที่ยาก การกระทำกับคำพูดจะสวนทางกัน โดยที่เราไม่ทันเอะใจเลยสักนิดเดียว หรือไม่ก็เป็นการโกหกโดยที่เราไม่รู้ตัว

Continue reading “เทคนิคการอ่านใจคนด้วยจิตวิทยา”

ประวัติและความเป็นมาของจิตวิทยา

จิตวิทยาเกิดขึ้นตั้งแต่สมัยกรีกและโรมัน ที่พยายามค้นหาความหมายของ จิต ซึ่งในระยะแรกก็คิดถึงหัวใจและสมอง ซึ่งถือว่าเป็นแหล่งของความคิด ต่อมาในยุคทศวรรษที่ 19 การศึกษาจิตวิทยาแยกออกเป็นสองทาง คือแนวปรัชญาและแนววิทยาศาสตร์กายภาพและชีวะภาพ ผู้นำแนวคิดทางปรัชญาคือจอห์น ล็อค เป็นนักปรัชญาชาวอังกฤษ ได้รับฉายาว่าเป็นบิดาแห่งจิตวิทยาแผนใหม่ ซึ่งให้ความสนใจเกี่ยวกับธรรมชาติของการคิดที่มีความสัมพันธ์กับจิต และความรู้ทั้งหมดของบุคคลเกิดจากการที่ประสาทสัมผัสปะทะกับโลกกายภาพ เขาเชื่อว่าจิต เปรียบเสมือนกระดาษที่ว่างเปล่า แต่เมื่อบุคคลมีประสบการณ์ที่ได้รับจากประสาทสัมผัส ทำให้

Continue reading “ประวัติและความเป็นมาของจิตวิทยา”

7 สัญญาณเตือน ควรไปพบจิตแพทย์

ในสมัยนี้นั้นอาการป่วยทางจิตใจต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น โรคซึมเศร้า หรืออื่นๆ นั้นสามารถเกิดขึ้นได้อย่างง่ายได้ โรคเครียดก็เป็นอีกหนึ่งโรคที่ไม่แปลกใจเลยที่จะพบเจอได้ง่ายสำหรับยุคสมัยนี้ที่มีการแข่งขันที่สูงขึ้น เพราะเรื่องของจิตใจและอารมณ์นั้นเป็นอะไรที่อธิบายได้ค่อนข้างยาก มีความละเอียดอ่อน และความซับซ้อนที่สูงเลยทีเดียว และการแสดงออกอย่างไม่มีเหตุผลบาง

Continue reading “7 สัญญาณเตือน ควรไปพบจิตแพทย์”

อาการของโรคซึมเศร้า และแนวทางการป้องกัน

 

เป็นเรื่องที่น่าสะเทือนใจ เนื่องจากคิดของคนไทยสมัยก่อน คิดว่าผู้ที่จะเดินทางไปรักษา ปรึกษาแก้ไข ปัญหาทางด้านจิตใจกับจิตแพทย์นั้น จะต้องเป็นคนมีอาการคุ้มคลั่ง เป็นบ้า เสพยาเสพติด ประสาทหลอน เป็นโรคจิตเพศต่าง ๆ นานาซึ่งเป็นความเข้าใจผิดอย่างร้ายแรง แต่ในขณะเดียวกัน ก็เป็นเรื่องดีที่คนไทยในปัจจุบันนี้ เห็นความสำคัญของการรักษาสภาพจิตใจ กับจิตแพทย์ดียิ่งขึ้น และอาการของโรคทางจิตใจนั้น ก็แบ่งออกเป็นหลายระดับ หลายโรค ไม่แตกต่างอะไรกับที่เราเป็นหวัดเป็นไข้หวัดใหญ่ เป็นไข้เลือดออก ซึ่งโรคแต่ละโรคนั้น ล้วนมีความรุนแรงแตกต่างกันไป

โรคซึมเศร้า อีกหนึ่งโรคทางใจ ต้องเข้ารับการรักษา

ปัจจุบันนี้เราอาจจะเคยได้ยินชื่อของโรคทางจิตเภท ซึ่งมักถูกหยิบยกมาพูดถึงในสังคมวงกว้างเสมอแล้ว โรคนั้นก็คือ โรคซึมเศร้านั่นเอง ความจริงแล้ว โรคซึมเศร้าเป็นโรคที่มีมานานแล้ว เพียงแต่ว่าแต่ละคนอาจจะไม่เท่าทันรู้ตัวเองว่า ตนเองนั้นกำลังเป็นโรคซึมเศร้า ทำให้ไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้อง และสุดท้ายเมื่ออาการของโรคดำเนินไปถึงขั้นตอนสุดท้าย ก็เกิดการฆ่าตัวตายขึ้นมา ซึ่งในอดีตยังไม่มีการรักษาทางการแพทย์ ก็อาจจะมีการถึกทักไปว่าเป็นการฆ่าตัวตาย เพราะสิ่งลี้ลับต่าง ๆ แต่แท้จริงแล้ว อาจจะเป็นอาการของโรคเหล่านี้ ที่อยู่เบื้องหลังความตายของใครหลาย ๆ คนก็ได้

สำหรับอาการของโรคซึมเศร้า แน่นอนว่าอาการหลักที่จะพบได้มากก็คือ มีผู้ป่วยจะมีอาการซึมเศร้าอยู่เกือบตลอดเวลาหรือบางครั้งก็อาจจะมีอาการฉุนเฉียว โมโหง่าย รู้สึกเบื่อ เหมือนใช้ชีวิตไปวัน ๆ ไม่มีแรงบันดาลใจ กิจกรรมที่เคยชอบทำก็กลับไม่ชอบแล้ว ไม่รู้ว่าจะอยู่ไปเพื่ออะไร มีความคิดอยากทำร้ายตัวเอง หรือในขั้นหนักก็คืออยากจะฆ่าตัวตาย เพราะว่ามีความรู้สึกว่าไม่อยากอยู่ รู้สึกว่าตนเองไม่มีคุณค่า รู้สึกความทุกข์ที่แบกรับนั้นมีมากมายนักหนาจนเกินไป และเหมือนกับว่าจะหาทางออกไม่เจอ โดยอาการที่เกิดขึ้นนี้ จะไม่เกิดขึ้นเป็นครั้งคราว แต่จะเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ 14 วันขึ้นไป ถ้าคุณพบว่าคนรอบข้าง หรือตนเองกำลังมีความรู้สึกเช่นนี้ อย่าลังเลใจที่จะไปปรึกษาจิตแพทย์ เพื่อให้เขาวินิจฉัยสิ่งที่คุณกำลังรู้สึกได้อย่างแม่นยำมากยิ่งขึ้น

แนวทางในการป้องกันโรคซึมเศร้านั้น

พยายามทำให้ทั้งสุขภาพร่างกาย และสุขภาพจิตใจ มีความแข็งแกร่ง ถ้าคุณพบว่าสถานการณ์ไหนที่เป็นสถานการณ์ในแง่ลบ เต็มไปด้วยอารมณ์ขุ่นมัว ให้คุณพยายามหลีกเลี่ยง หรือหลบหลีกมาจากสถานการณ์นั้นให้ได้มากที่สุด ยกตัวอย่างเช่น คุณมีปัญหากับคนในบ้าน อยู่ในบ้านเดียวกันแล้วไม่มีความสุข ก็ให้คุณแยกบ้านออกมาอยู่เพียงลำพัง หรืออาการโรคซึมเศร้าของคุณนั้น มีจากสาเหตุมาจากเพื่อนที่ทำงาน ก็พยายามอย่าจะเข้าไปสุงสิง ทำเหมือนเขาไม่มีตัวตนในชีวิต และทำให้คุณรู้จักกันระบายอารมณ์ในแง่บวก โดยเป็นเรื่องแน่นอนว่า คนทุกคนในชีวิต จะต้องมีทั้งความสุข, ความเศร้า, ความเครียดปัญหาต่าง ๆ เข้ามาแตกต่างกัน แต่คุณสามารถระบายอารมณ์ไม่ดีเหล่านั้น ด้วยการทำกิจกรรมที่ดีมีคุณค่าเช่น การออกกำลังกาย การทำกิจกรรมที่คุณชอบ เช่น การปลูกต้นไม้, การร้องเพลง, การอ่านหนังสือ, ชมภาพยนตร์ ซึ่งทำและทำให้จิตใจเกิดความเบิกบานได้รับความผ่อนคลาย

นอกจากนี้ คุณจะต้องรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ พยามนอนให้เป็นเวลา นอนวันละ 7 ชั่วโมงถึง 8 ชั่วโมงขึ้นไป และต้องพยายามปรับเปลี่ยนนิสัยให้ตัวเองเป็นคนคิดในแง่บวก ซึ่งจะทำให้จิตใจของคุณนั้นค่อย ๆ มีความแข็งแกร่ง เห็นคุณค่าในตัวเองขึ้น และเมื่อคุณทำสิ่งใดได้ตรงตามเป้าหมายแล้ว ก็อย่าลืมชื่นชมให้กำลังใจตัวเองด้วย

 

 

อาการของโรคไมเกรน และแนวทางการป้องกัน

หนึ่งในโรคยอดฮิตของคนไทยวัยทำงานส่วนใหญ่ ก็คือ อาการปวดหัว ซึ่งอาการปวดหัวนี้ ก็มีที่มาจากหลายสาเหตุ หลายปัจจัยเช่นเดียวกัน เช่น นอนพักผ่อนไม่เพียงพอ, ดื่มน้ำน้อย, เกิดอาการแฮงค์จากการดื่มแอลกอฮอล์, สภาพอากาศเปลี่ยนแปลง, ร้อนจัด, หนาวจัด และอื่น ๆ เป็นต้น แต่มีอาการปวดหัวอยู่อาการหนึ่ง ซึ่งส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันอย่างรุนแรงนั่นก็คือ โรคไมเกรน นั่นเอง

ไมเกรน อาการปวดหัวที่คุณไม่อยากให้เกิดขึ้น

ถ้าคุณปวดหัวตามปกติ การรับประทานยาพารา 1-2 เม็ด ก็จะช่วยบรรเทาอาการปวดหัวได้อย่างเห็นผล แต่สำหรับไมเกรนแล้ว จะเป็นขั้นการปวดหัวที่เป็นขั้นกว่าการปวดหัวตามปกติธรรมดาทั่วไป ซึ่งลักษณะของอาการ คือ จะมีลักษณะอาการปวดหัวข้างเดียว ปวดหัวตุบตุบ ๆ รู้สึกมองมองเห็นแสงกระพริบวิบวับ หรือเห็นเป็นเส้นสายรุ้ง และมีอาการคลื่นไส้อยากจะอาเจียน และอาจจะกระตุ้นถูกกระตุ้นได้มากขึ้น เมื่อพบกับแสง, สี, เสียง รวมทั้งกลิ่นอาหารบางชนิด ส่วนใหญ่แล้วอาการปวดไมเกรนนั้น จะเป็นอาการปวดหัวรุนแรง จำเป็นต้องทานยาแก้ปวดไมเกรนโดยเฉพาะ บางคนปวดถึงขนาดทำงาน หรือลุกขึ้นไม่ไหว จำเป็นต้องนอนในห้องมืด ๆ เงียบ ๆ เท่านั้น ถึงจะช่วยบรรเทาอาการให้ดีขึ้นได้ในระดับหนึ่ง Continue reading “อาการของโรคไมเกรน และแนวทางการป้องกัน”

อาการแบบไหนถึงต้องพบจิตแพทย์

ในยามที่คุณผู้อ่านเริ่มมีอาการเป็นหวัดคัดจมูก แน่นอนว่าคุณจะทราบได้ด้วยตัวเองว่าอาการแบบไหน ที่ควรจะทานยาพักผ่อน เพียงไม่กี่วันก็จะหายสนิทแล้ว หรืออาการไหนที่เป็นอาการหนัก ต้องได้รับความช่วยเหลือ และเดินทางไปโรงพยาบาลโดยด่วน แต่สำหรับอาการทางจิตแล้ว เป็นอาการที่แยกได้ยากมาก เพราะบางครั้งผู้ป่วยก็ไม่รู้ว่านี่คืออาการเครียดตามปกติ หรือเข้าข่ายที่จะเป็นอาการทางจิตต่างๆ ซึ่งต้องเข้ารับการรักษาจากคุณหมอ เพราะฉะนั้นวันนี้เราจะมาแนะนำแนวทางให้ทราบว่า คุณผู้ต้องมีอาการแบบไหน รู้สึกแบบใด ถึงจะเข้าข่ายต้องรีบไปพบจิตแพทย์โดยด่วน

อาการหลีกหนีสังคม

สำหรับอาการนี้ ก็จะต้องแยกระหว่างผู้ที่มีโลกส่วนตัวสูงด้วย เพราะผู้มีโลกส่วนตัวสูง มักสามารถเข้าสังคมได้ พูดคุยกับบุคคลทั่วไปได้ แต่ถ้าเลือกได้ก็จะไม่ชอบเข้าสักเท่าไหร่ แต่ผู้ที่มีอาการต่อต้านสังคมนี้ จะมีอาการหวาดกลัว ไม่อยากจะเข้าสังคม อยากจะอยู่เพียงคนเดียว และไม่อยากจะพูดคุยกับใคร บางครั้งอาจจะมีความก้าวร้าวแขวนขึ้นมาบ้าง หรือกลัวจนถึงขนาดไม่อยากจะออกจากห้อง หรือไม่อยากจะออกไปไหนเลย

รู้สึกว่าตัวเองไร้ค่า

มีความรู้สึกว่าตัวเองไร้ค่า มีปัญหาอยู่ตลอดเวลา รู้สึกเกลียดตัวเอง โกรธแต่ไม่รู้ว่าจะไประบายอารมณ์กับใคร ก็ระบายอารมณ์ใส่ตัวเอง เช่น ทำร้ายตัวเอง หรือพยายามหาทางฆ่าตัวตาย ซึ่งเมื่อผู้ที่มีอาการทางจิต ได้ทำร้ายตัวเองแล้ว ก็จะเหมือนเป็นการระบายอารมณ์ เขาก็จะรู้สึกดีขึ้นในช่วงระยะเวลาหนึ่ง แต่หลังจากนั้น อาการนี้ก็จะเกิดขึ้นอยู่เรื่อย ๆ และกลายเป็นเรื่องที่ควบคุมตัวเองไม่ได้ จนกระทั่งอาจบานปลายไปสู่การฆ่าตัวตาย

มีอาการประสาทหลอน

เช่นได้ยินเสียงไม่มีอยู่จริง มองเห็นภาพไม่มีอยู่จริง มีความคิดผิดปกติคิดว่า จะมีคนเข้ามาทำร้ายตัวเองอยู่ตลอดเวลาแม้แต่คนในครอบครัว เพื่อนสนิท หรือแม้แต่คนที่ไม่เคยรู้จัก ไม่เคยเห็นหน้ามาก่อน ก็อาจจะคิดว่า เขาอยากจะเข้ามาทำร้ายตัวเอง อาจทำให้เกิดอาการก้าวร้าวขึ้นมาได้

มีความรู้สึกล่องลอย

มีความรู้สึกว่าโลกนี้ไม่มีจริง รู้สึกเหมือนตัวเองกำลังอยู่ในสถานที่ใดสถานที่หนึ่ง ซึ่งไม่เป็นความจริง รู้สึกปล่อยใจล่องลอยไปกับลมกับฟ้า มีอาการเหม่อลอยอยู่บ่อยครั้ง และไม่รู้ว่าชีวิตเกิดมาทำไม เกิดมาเพื่ออะไร ไม่มีเป้าหมายในชีวิต ไม่มีสิ่งใดที่อยากจะทำเหมือนอยู่ไปวัน ๆ

ฝันร้ายแต่เรื่องเดิม ซ้ำไปซ้ำมา

คุณจะฝันถึงแต่เรื่องเดิม ๆ เหตุการณ์เดิม ๆ ซ้ำไปซ้ำมา ซึ่งมีอารมณ์เข้มข้น รุนแรง และจริงจังมาก เหมือนกับว่าเหตุการณ์นั้นกำลังเกิดขึ้นในอยู่ในปัจจุบันนี้ ทั้งที่เหตุการณ์นั้นอาจจะเกิดขึ้นไปแล้ว หรือเกิดขึ้นมานานหลายปีแล้วก็ได้ แต่เหตุการณ์นั้น ก็ยังตามมาหลอกหลอนอยู่ในปัจจุบัน จึงส่งผลทำให้การใช้ชีวิตไม่มีความสุข นอนพักผ่อนไม่เพียงพอ ส่งผลทำให้เกิดการวิตกจริต เห็นภาพหลอน เหนื่อยล้า คิดอะไรมาค่อยออก สมองตัน เพราะไม่ค่อยได้นอน สลัดภาพนั้นออกจากหัวไม่ได้ จนกระทั่งรบกวนการใช้ชีวิต

เมื่อคุณมีอาการเหล่านี้เมื่อไหร่ ก็ขอแนะนำให้ไปขอความช่วยเหลือจากจิตแพทย์ทันที ซึ่งคุณไม่ต้องกังวลไปว่า การไปหาจิตแพทย์นั้น จะต้องเป็นสถานที่น่ากลัว เป็นสถานที่เต็มไปด้วยคนสติไม่ดี เดินกันขวักไขว่เหมือนในละคร ซึ่งเราขอบอกเลยว่าไม่จริงแต่อย่างใด นอกจากนี้ถ้าคุณสบายใจในขั้นสุดยอด คุณก็ไม่จำเป็นที่จะต้องพาใครไป เพราะถ้าเขาคนนั้นไม่เข้าใจ อาการของคุณก็จะยิ่งแย่เข้าไปใหญ่ เพราะฉะนั้นถ้าคุณสบายใจที่จะไปหาหมอ เพียงลำพังก็จะเป็นสิ่งดีที่สุด

 

เปิดช่วงอายุที่มีโอกาสพบจิตแพทย์มากที่สุด

เมื่อพูดถึงอาการเจ็บไข้ได้ป่วยแล้ว แน่นอนว่าเป็นเรื่องปกติของมนุษย์ทุกคนบนโลก ซึ่งบางครั้งเราอาจจะมีอาการเจ็บป่วยขึ้นมาได้บ้าง แน่นอนว่าถ้าคุณเป็นไข้หวัด หรือมีอาการปวดหัวต่าง ๆ คุณก็จะต้องไปหาหมอ หรือไปปรึกษาเภสัช เพื่อซื้อยามารับประทาน ฉันใดก็ฉันนั้น อาการความเจ็บป่วยทางใจ ทางความคิด ความรู้สึกต่าง ๆ ก็จำเป็นที่ต้องปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ เพื่อหาแนวทางในการรักษาอย่างถูกต้องรวมทั้งในผู้ป่วยบางราย อาจจะมีการรับประทานยาร่วมด้วย เพื่อให้ช่วยบรรเทาความรู้สึกเจ็บปวด ของโรคที่อยู่ภายในจิตใจที่ไม่มีใครเห็น ให้ฟื้นฟูกลับมามีอารมณ์ปกติ อย่างมีคุณภาพมากที่สุด

การไปหาจิตแพทย์ คือ เรื่องปกติ

ในอดีตคนไทยอาจจะไม่ค่อยคุ้นเคยกับคำว่าจิตแพทย์มากสักเท่าไหร่นัก เพราะว่าในอดีตเรามักจะติดภาพจำจากละครต่าง ๆ ว่า ผู้ที่ไปหาจิตแพทย์นั้น จะต้องเป็นโรควิกลจริต เป็นบ้า เป็นโรคประสาทต่าง ๆ แต่แท้จริงแล้วมนุษย์เราต่างก็มีความทุกข์อยู่ในใจแตกต่างกันไป ไม่ต่างอะไรกับการไปหาหมอเพื่อรักษาโรคทางกายเลยแม้แต่แม้แต่นิดเดียว

บุคคลแต่ละเพศแต่ละวัย แต่ละช่วงอายุนั้น ล้วนมีปัญหาความกลุ้มใจ มีปมในใจที่แตกต่างกัน ทุกคนสามารถเข้าไปหาจิตแพทย์ได้ ซึ่งเป็นอีกหนทางหนึ่งที่ดีที่สุด สำหรับช่วงอายุที่มีโอกาสพบจิตแพทย์มากที่สุด คือ ช่วงวัยรุ่น เพราะว่าช่วงวัยนี้ยังเป็นช่วงวัยหัวเลี้ยวหัวต่อ ซึ่งยังไม่รู้ว่าอนาคตของตนเองนั้นจะเดินไปทางไหน นอกจากนี้ก็ยังพบกับปัญหาต่าง ๆ รุมเร้ามากมาย ไม่ว่าจะเป็นปัญหาเรื่องของทางบ้าน ปัญหาเรื่องเพื่อน ปัญหาความรัก ปัญหากดดันในเรื่องการเรียนต่อรวมทั้งปัญหาอื่นๆอีกมากมาย

เด็กอายุ 18 ไปหาจิตแพทย์ได้ด้วยตัวเอง

อดีตเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปี ไม่อาจที่จะเดินทางไปพบหาปรึกษากับคุณหมอจิตแพทย์คนเดียวได้ แต่จำเป็นที่จะต้องมีผู้ปกครองไปด้วย ซึ่งจุดนี้ทำให้เด็กไม่ได้รับการเข้ารับการรักษาอย่างถูกต้อง เพราะบางครั้งผู้ปกครองเองก็มีความเข้าใจที่ผิดเพี้ยน คิดว่าลูกของตนเองนั้นเป็นบ้า อาจจะพูดจากระแทกแดกดัน พูดจาด่าทอ ทำให้ตัวเด็กนั้น เกิดความเครียดมากขึ้นกว่าเดิม และอาจจะจบลงด้วยการทำร้ายตัวเอง ทำร้ายผู้อื่น หรืออาจทนไม่ไหวฆ่าตัวตายก็เป็นได้

แต่เป็นเรื่องที่ดีที่เยาวชนคนรุ่นใหม่เห็นความสำคัญของการเข้าไปปรึกษาพบจิตแพทย์มากขึ้น เพื่อรักษาสภาพปัญหาจิตใจที่คนรอบข้างอาจไม่เข้าใจ ทำให้มีการผลักดันในเรื่องของผู้ที่บุคคลที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปีนั้น สามารถเข้าไปปรึกษาปัญหาสุขภาพจิตได้เพียงลำพัง โดยไม่จำเป็นต้องมีพ่อแม่ผู้ปกครองรับทราบ แต่ในเรื่องของขั้นตอนการรักษาที่ใช้เครื่องมืออุปกรณ์ต่าง ๆ หรือการจ่ายยานั้นก็จะเป็นในอีกรูปแบบ หนึ่งซึ่งจะพิจารณาตามเคสต่าง ๆ เป็นรายบุคคลไป

อาการเจ็บไข้ได้ป่วยนั้นเป็นเรื่องปกติของมนุษย์ แต่วิธีหาทางออกที่สุดก็คือ ต้องหาผู้เชี่ยวชาญ ที่มีความรู้ความเข้าใจ เข้ามาช่วยเหลือได้อย่างตรงจุด มีประสิทธิภาพ และทำให้ผู้ป่วยนั้นเกิดความสบายใจ จนกระทั่งหายจากโรคจนสิ้น ถ้าวันนี้คุณเกิดความไม่สบายใจอันใดขึ้นมา หรือรู้สึกว่าตัวเองมีความไม่ปกติเกิดขึ้น ต้องการความช่วยเหลือในเรื่องของการรักษาสภาพจิตใจ คุณอาจจะลองโทรไปหากรมสุขภาพจิต เพื่อบรรเทาทุกข์ให้เขาฟังในเบื้องต้นก่อนก็ได้ หรือถ้าคุณต้องการเข้ารับการรักษาแบบจริงจัง ก็สามารถเข้าไปขอคำปรึกษาจากนักจิตวิทยา จิตแพทย์เพื่อช่วยให้สุขภาพจิตของคุณนั้นดีขึ้น และอยู่ในสังคมนี้ต่อไปได้อย่างมีความสุข อย่างมีประสิทธิภาพ มีคุณภาพมากที่สุด

 

นักจิตวิทยาทําหน้าที่อะไร

นักจิตวิทยาทําหน้าที่อะไร

มนุษย์นั้นไม่ได้มีความผิดปกติหรือความเจ็บป่วยทางด้านร่างกายเท่านั้น แต่ยังมีความเจ็บป่วยซึ่งเกิดขึ้นภายในจิตใจอีกด้วย ความเจ็บป่วยนี้เป็นสิ่งมองไม่เห็นและไม่อาจจับต้องได้ แต่เป็นความเจ็บป่วยที่มีอยู่จริง เพราะฉะนั้น มนุษย์จึงจำเป็นต้องได้รับการรักษาสภาวะความเจ็บป่วยทางจิตใจนี้ ส่วนผู้ทำการรักษาและศึกษาในเรื่องของจิตใจมนุษย์ก็คือนักจิตวิทยานั่นเอง

นักจิตวิทยาทําหน้าที่อะไร

นักจิตวิทยากับจิตแพทย์มีความแตกต่างกัน

ถึงแม้ว่าทั้ง 2 อาชีพนี้จะมีเป้าหมายในการดูแลผู้ป่วยที่มีปัญหาทางด้านจิตใจเช่นเดียวกัน แต่ลักษณะการทำงานในด้านต่างๆ ก็มีความแตกต่างกันอยู่พอสมควร วันนี้เราจะมาเจาะลึกในด้านของนักจิตวิทยากันก่อน

นักจิตวิทยา มีหน้าที่ศึกษา, วิเคราะห์, วิจัย ลึกเข้าไปในจิตใจของมนุษย์ เพื่อค้นหาสาเหตุ หลังจากนั้นจึงได้นำมาวิเคราะห์เพื่อหาแนวทางในการรักษา รวมทั้งหาแนวทางในการป้องกันต่อไปในอนาคต นอกจากจะหาแนวทางในการรักษาแล้วยังต้องเป็นผู้ปรึกษาแก่คนไข้ ซึ่งการปรึกษานักจิตวิทยาหรือการไปพบจิตแพทย์ เป็นเรื่องปกติธรรมดา แม้แต่ผู้มีอาการเครียดจากเรื่องราวในชีวิตประจำวัน ผู้มีอาการนอนไม่หลับ ก็สามารถเข้าไปปรึกษานักจิตวิทยาได้ โดยไม่จำเป็นจะต้องมีอาการหนักหนาสาหัสเสมอไป มนุษย์สามารถเกิดบาดแผลทางด้านจิตใจได้ เพราะฉะนั้นจึงเป็นเรื่องปกติเช่นเดียวกัน เมื่อคุณเป็นไข้คุณก็ต้องไปหาหมอเพื่อรับยามาทาน เพราะฉะนั้นการขอความช่วยเหลือจากนักจิตวิทยาก็เป็นอีกแนวทางหนึ่งที่ช่วยให้คุณหายจากโรคทางใจต่างๆ ได้

นักจิตวิทยาสามารถแบ่งออกหลากสาย แต่สายที่ได้รับความนิยมมากที่สุด ได้แก่

  • นักจิตวิทยาสุขภาพ สำหรับนักจิตวิทยาสายนี้จะประจำการอยู่ในโรงพยาบาลต่างๆ เช่น นักจิตวิทยาเด็กก็จะมีความรู้เจาะลึกในเรื่องของพฤติกรรมเด็ก, นักจิตวิทยาบำบัด ที่ให้ความรู้เกี่ยวกับการเลิกบุหรี่ เป็นต้น ซึ่งจะต้องมีความรู้ในเรื่องของการบำบัดจิตใจในการรักษาผู้ป่วย
  • นักจิตวิทยางานวิจัย สำหรับสายนี้จะประจำการในมหาวิทยาลัย หรือองค์กรสถาบันต่างๆทางด้านความรู้ หน้าที่หลัก คือ ศึกษาหาข้อมูลความรู้ใหม่ๆ เพื่อนำมาเผยแพร่ และการศึกษาเหล่านี้จะต้องเกี่ยวข้องกับงานวิจัยเป็นหลัก สำหรับขั้นตอนในการวิจัยก็มีหลายเทคนิคด้วยการ เช่น การทดลอง, การเก็บข้อมูลจากการลงพื้นที่,การเก็บข้อมูลทางอินเทอร์เน็ต เป็นต้น
  • นักจิตวิทยาคลินิก สำหรับสายสายนี้ สามารถเปิดคลินิกซึ่งเป็นคลินิกเฉพาะทางก็ได้ หรือจะเป็นคลินิกเล็กๆ ที่อยู่ในโรงพยาบาลก็ได้ โดยมีจุดประสงค์ในการก่อตั้ง คือ เพื่อหาทางรักษาผู้ป่วยที่มีความผิดปกติทางด้านจิตใจรวมทั้งให้คำปรึกษาต่างๆ เพื่อให้เขาสามารถปรับตัวและใช้ชีวิตอย่างมีความสุขต่อไปได้
  • นักจิตวิทยาในด้านอื่นๆ นักจิตวิทยาที่ประกอบอาชีพเป็นวิทยากร เดินสายให้ความรู้ตามสถานที่ต่างๆ มีเทคนิคในการโน้มน้าวใจผู้ฟัง ทำให้ผู้ฟังเกิดความคล้อยตาม และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมได้ มีเทคนิคการพูดที่ทำให้ผู้ฟังและรู้สึกสบายใจมากยิ่งขึ้น สามารถดำเนินชีวิตต่อไปได้อย่างเป็นปกติสุข หรือ นักจิตวิทยาที่ทำงานในศาล มีหน้าที่โน้มน้าวใจผู้กระทำผิดรับสารภาพ หรือช่วยเหลือเยียวยาจิตใจผู้กระทำผิดให้เขาไม่พบกับภาวะตึงเครียดมากจนเกินไป จนกระทั่งอาจก่อให้เกิดการฆ่าตัวตายได้ เป็นต้น

การจะเป็นนักจิตวิทยาได้นั้น ผู้จะเดินสายเรียนต่อทางด้านนี้ จะต้องมีความตั้งใจในการประกอบอาชีพ และจะต้องเป็นคนที่มีจิตใจมั่นคง เข้มแข็ง และมองโลกในแง่ดี ใจเย็นสามารถรับฟังความทุกข์หรือปัญหาของผู้อื่นได้อย่างสนิทใจ ในระยะเวลาอันยาวนาน สามารถใช้ความรู้ที่ร่ำเรียนมาวิเคราะห์ปัญหาได้อย่างเป็นกลาง โดยไม่ใส่อคติส่วนตัวเข้าไป ในอดีตสายงานนี้อาจไม่ค่อยได้รับความนิยมในประเทศไทยสักเท่าไหร่ แต่ด้วยยุคสมัยเปลี่ยนไป ประชาชนคนไทยเข้าใจความสำคัญทางด้านการรักษาจิตใจมากยิ่งขึ้น จึงทำให้อาชีพนักจิตวิทยาเป็นอิสระ เป็นอีกหนึ่งอาชีพที่น่าสนใจและช่วยปลดเปลื้องความทุกข์ในใจของเพื่อนมนุษย์ด้วยกันได้