
จิตวิทยาเกิดขึ้นตั้งแต่สมัยกรีกและโรมัน ที่พยายามค้นหาความหมายของ จิต ซึ่งในระยะแรกก็คิดถึงหัวใจและสมอง ซึ่งถือว่าเป็นแหล่งของความคิด ต่อมาในยุคทศวรรษที่ 19 การศึกษาจิตวิทยาแยกออกเป็นสองทาง คือแนวปรัชญาและแนววิทยาศาสตร์กายภาพและชีวะภาพ ผู้นำแนวคิดทางปรัชญาคือจอห์น ล็อค เป็นนักปรัชญาชาวอังกฤษ ได้รับฉายาว่าเป็นบิดาแห่งจิตวิทยาแผนใหม่ ซึ่งให้ความสนใจเกี่ยวกับธรรมชาติของการคิดที่มีความสัมพันธ์กับจิต และความรู้ทั้งหมดของบุคคลเกิดจากการที่ประสาทสัมผัสปะทะกับโลกกายภาพ เขาเชื่อว่าจิต เปรียบเสมือนกระดาษที่ว่างเปล่า แต่เมื่อบุคคลมีประสบการณ์ที่ได้รับจากประสาทสัมผัส ทำให้
เกิดรอยขีดเขียน ดังนั้นสิ่งแวดล้อมจึงมีอิทธิพลต่อจิตมาก เขาได้อธิบายว่าจิตของมนุษย์ เกิดจากการสะสมของประสบการณ์ต่างๆ ที่ได้เรียนรู้และถูกเชื่อมโยงกัน ต่อมาเมื่อวิทยาศาสตร์ได้เจริญก้าวหน้ามากขึ้น การค้นคว้าทางสิทยาศาสตร์ประสบความสำเร็จเป็นอย่างมากในขณะที่การอธิบายเรื่องจิตวิญญาณเป็นเรื่องยากมากไม่สามารถอธิบายได้อย่างชัดเจน การศึกษาจิตวิทยาจึงถูกนำไปใช้ในการทดลอง การสังเกต การพิจารณาในเวลาต่อมา บุคคลที่เข้าศึกษาจิตวิทยาในเวลาต่อมานอกจาก จอห์น ล็อค แล้ว ยังมี Cassman ได้เขียนหนังสือที่ชื่อ Aythropologica อธิบายเกี่ยวกับความรู้เรื่อง จิตของมนุษย์ 1590 ทำให้วิชา Psychology เป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลาย
Emest Hinrich Weber (1795 – 1878) ผู้ค้นพบพื้นฐานร่วมระหว่างความรู้สึกทางสรีระกับจิตวิทยาฟิสิกส์ เขาได้ศึกษาเกี่ยวกับ สัมผัสและความรู้สึกทางกล้ามเนื้อ ซึ่งถือว่าเป็นการเริ่มต้นหาความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งเร้า กับการตอบสนอง โดยวิธีการหาความแตกต่างของการรับความรู้สึกของผู้ทดลอง Charles Darwins (1809 – 1882) ผู้ตั้งทฤษฎีวิวัฒนาการในปี 1859 เขาเชื่อว่าต้นกำเนิดของสิ่งมีชีวิตนั้นมาจากสัตว์ชั้นต่ำ ทำให้ความเชื่อว่าจิตหรือวิญญาณเป็นต้นกำเนิดชีวิตหายไป และเหตุนี้ทำให้เกิดจิตวิทยาสาขาจิตวิทยาเปรียบเทียบ (Comparative Psychology) ขึ้น Sir Francis Galton ให้ความสนใจในเรื่องของพันธุกรรมศาสตร์ ได้ศึกษาความสัมพันธ์ ระหว่างพันธุกรรมและสิ่งแวดล้อม ซึ่งถือว่าเป็นต้นเหตุของความแตกแยกและแตกต่างระหว่างบุคคล ถือเป็นผู้เริ่มจิตวิทยาการทดลองเป็นคนแรกในประเทศอังกฤษ ส่วนวิธีการศึกษาที่นำใช้คือการทำ Case Study รวมทั้งสร้างแบบทดสอบและใช้วิธีทางสถิติอย่างง่าย
จุดมุ่งหมายของจิตวิทยาการศึกษา
จุดมุ่งหมายของจิตวิทยาการศึกษา คือ เพื่อให้เข้าใจก่อน เพื่อให้ทำนาย เพื่อควบคุม พฤติกรรมการเรียนรู้ของมนุษย์ในสถานการณ์ต่างๆ กู๊ดวินส์และคลอส ไมเออร์ ได้กล่าวถึงจุดมุ่งหมายที่สำคัญของการเรียนจิตวิทยาว่า
- เป็นการให้ความรู้เกี่ยวกับการเรียนรู้ที่เป็นระบบทั้งด้านทฤษฎี หลักการและสาระอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเรียนรู้ของมนุษย์ ไม่ว่าจะเด็กหรือผู้ใหญ่
- เป็นการนำความรู้เกี่ยวกับการเรียนรู้และตัวผู้เรียนให้แก่ครูและผู้ที่เกี่ยวข้องทางการศึกษานำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อการเรียนการสอน
- เพื่อให้ครูสอนสามารถนำเทคนิคและวิธีการเรียนรู้ไปใช้ในการเรียนการสอน การแก้ไขปัญหาในชั้นเรียน ตลอดจนสามารถดำรงตนอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข
ประโยชน์ของจิตวิทยาศึกษา
- ช่วยให้ครูเข้าใจธรรมชาติ การเจริญเติบโตของเด็กและความสามารถนำความรู้ที่ได้มาจัดการเรียนการสอนได้อย่างเหมาะสมและสอดคล้องกับธรรมชาติ ความต้องการ ความสนใจของเด็กในแต่ละวัย
- ช่วยให้ครูสามารถเตรียมบทเรียนวิธีสอน จัดกิจกรรม ตลอดไปจนการใช้วิธีวัดและประเมินผลการศึกษาได้สอดคล้องกับวินัย
- ช่วยให้ครูสามารถจัดกิจกรรมได้อย่างสนุกสนานด้วยบรรยากาศของความเข้าใจการให้ความร่วมมือ และการให้การยอมรับซึ่งกันและกัน
- ช่วยสร้างสัมพันธ์ที่ดีระหว่างครู และผู้ปกครองเด็กได้ง่ายขึ้น และเรายังทำงานได้สำเร็จได้อย่างราบรื่น
- ช่วยให้ครูป้องกันและหาทางแก้ไขตลอดไปจนพัฒนาบุคลิกภาพของเด็กได้อย่างเหมาะสม
- ช่วยให้ผู้เรียนเข้ากับสังคมได้ดี ปรับตัวเข้ากับคนอื่นได้ดี
- ช่วยผู้บริหารการศึกษาวางแนวทางการศึกษา จัดหลักสูตร อุปกรณ์การสอนและบริหารงานได้อย่างเหมาะสม