ย้อนไปเมื่อ 161 ปีที่แล้ว เมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2399 ซิกมันด์ ฟรอยด์ แพทย์และนักจิตวิทยาชาวออสเตรเลียเชื้อสายยิว ซึ่งเป็นบิดาของ ทฤษฎีจิตวิเคราะห์ ลืมตามาดูโลก เค้าเกิด

ในครอบครัวที่เป็นชาวยิว ซึ่งเป็นพ่อค้าขายเสื้อผ้าขนสัตว์ ที่เมือง ฟรายเบิร์ก แคว้นเมืองโมราเวียซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรออสเตรเลีย – ฮังการี ในสมัยนั้น ปัจจุบันคือประเทศ เชค เขาเป็นคนชอบอ่านหนังสือมาก จึงทำให้เขาฉลาดและสอบได้ที่ 1 ทุกครั้งและได้เข้าเรียนแพทย์ที่มหาวิทยาลัยแห่งเมืองเวียนนา จบแล้วเค้าได้เปิดคลินิครักษาโรคประสาทและสมอง จากนั้นเขาได้เริ่มศึกษาเกี่ยวกับ จิตไร้สำนึก แล้วน้ำเสนอทฤษฎีจิตวิเคราะห์ ฟรอยด์ เขียนบทความและหนังสือหลายเล่ม พ.ศ. 2473 เขาเคยได้รับรางวัลเกอเธ่ แต่ 3 ปี ต่อมา นาซีเยอรมันเริ่มเรืองอำนาจ หนังสือของฟรอยด์ที่เก็บสะสมไว้ถูกเผา เริ่มกวาดล้างชาวยิวและบุกยึดออสเตรเลียในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2481 ฟรอยด์ และครอบครัวจึงจำเป็นที่จะต้องอพยพไปอยู่ที่กรุงลอนดอน ฟรอยด์เชื่อว่าสาเหตุหลักของพฤติกรรมมนุษย์เกิดจากแรงขับเคลื่อนทางเพศ Sex Drive และสัญชาติญาณในการอยู่รอดของจิตไร้สำนึก เค้าได้จำแนกบุคลิกคนออกมา 3 ส่วน คือ อิด(ID) คือจิตไร้สำนึก ,อีโก (Ego) จิตสำนึกหรือเหตุผล, และซุเปอร์ อีโก (Super Ego) คือส่วนที่เป็นมโนธรรมสำนึก นอกจากนี้เขายังแบ่งขั้นตอนพัฒนาบุคลิกภาพของมนุษย์ออกเป็น 5 ขั้น คือขั้นปาก ขั้นทวารหนัก ขั้นอวัยวะเพศ ขั้นแฝง และขั้นสนใจเพศตรงข้าม ทฤษฎีของเขาแม้จะไม่ได้รับการยอมรับในระยะแรก แต่ต่อมาก็มีการเริ่มศึกษาและเอามาประยุคใช้  และอธิบายให้สังคมรับรู้ถึงสิ่งที่ทำได้ ความคิดและผลงานของเค้ามีอิทธิพลอย่างมาก ทั้งงานวรรณกรรม วรรณคดี ปรัชญาและจิตวิทยา นับว่าเขาเป็นคนที่มีอิทธิพลทางความคิดมากที่สุดคนหนึ่งในศตวรรษที่ 20

 

ฟรอยด์ นับว่าเป็นยอดอัจฉริยะและได้รับการยกย่องว่าเป็น บิดาแห่งจิตวิทยา เขาเป็นเจ้าของทฤษฏี จิตวิเคราะห์ ที่มีอิทธิพลต่อการศึกษาในเรื่องนี้มากที่สุดคนหนึ่งในโลก แต่ชีวิตของเขาก็ต้องฟังฝ่าอุปสรรคมากมาย อดทนต่อความโดดเดี่ยว แม้กระทั่งไร้ซึ่งมิตรภาพที่แลกมาด้วยความสำำเร็จในหน้าที่การงานของเขา

หลักพื้นฐานของจิตวิเคราะห์

  1. นอกเหนือไปจากองค์ประกอบบุคคลิกภาพที่ได้รับทอดมาแล้ว พัฒนาการของบุคคลกำหนดโดยเหตุการณ์ในวัยเด็กตอนต้น
  2. เจตคติ จริตนิยม ประสบการณ์และความคิดมนุษย์ ได้รับอิทธิพลจากแรงขับแบบไร้เหตุผลมาก
  3. แรงขับไร้เหตุผล คือ จิตไร้สำนึก
  4. ความพยายามนำแรงขับเหล่านี้สู่ความตระหนักเผชิญต่อการต้านทางจิตในรูปกลไกป้องกันตน
  5. ความขัดแย้งของจิตสำนึกและจิตไร้สำนึกหรือการกดเก็บ ปัจจัยสามารถเกิดในรูปแบบรบกวนทางจิตหรืออารมณ์ได้ ตัวอย่างเช่น โรคประสาท ความวิตกกังวล ภาวะซึมเศร้า
  6. การปลดปล่อยจากผลแห่งปัจจัย ไร้สำนึกบรรลุผ่านการนำปัจจัยเหล่านี้สู่จิตสำนึก (เช่น โดยผ่านการชี้นำอย่างมีทักษะ คือการรักษา)

ในจิตวิเคราะห์ มีอย่างน้อย 22 ทฤษฎี เกี่ยวกับพัฒนาการทางจิตของมนุษย์ แนวทางสู่การรักษาหลายแนวทางที่เรียก จิตวิเคราะห์ ก็มีหลากหลายเช่นเดียวกับทฤษฎี คำนี้ยังหมายถึง วิธีการวิเคราะห์การพัฒนาการของเด็กอย่างหนึ่งด้วย

นักจิตวิทยาแบบฟรอยด์ หมายความถึงประเภทการรักษาแบบเจาะจง ซึ่งผู้ป่วยวิเคราะห์ แสดงความเห็นตนเองออกมาเป็นคำพูด ซึ่งรวมการเชื่อมโยงเสรี ความเพ้อฝันและฝัน ซึ่งนักวิเคราะห์จะชักนำความขัดแย้งที่ไร้สำนึกที่ก่อให้เกิดอาการป่วยของผู้ป่วยและปัญหาบุคลิกออกมา แล้วตีความให้ผู้ป่วยเพื่อสร้างการหยั่งรู้ให้ตัวเองเพื่อทุเลาปัญหา นักวิเคราะห์เผชิญและระบุการป้องกันความปรารถนาและความรู้สึกผิดพยาธิวิทยาของผู้ป่วยให้ชัด ผ่านการวิเคราะห์ความขัดแย้ง

ฟรอยด์ เป็นคนที่สูบซิการ์จัดมาก เขาเลยเป็นโรคมะเร็งและต้องเข้าผ่าตัดกว่า 30 ครั้ง และหลังจากอ่านนิยายเรื่อง La Peau de chagrin จบเขาก็ได้ปิดฉากตัวเองด้วยการ ฆ่าตัวตาย เมื่อวันที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2482 ด้วยวัย 83 ปี