
‘คณะจิตวิทยา’ ศึกษาจิตใจของมนุษย์ , กระบวนทำงานของจิต , กระบวนความคิด รวมทั้งศึกษาพฤติกรรมของมนุษย์ ด้วยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ สำหรับเนื้อหาในคณะนี้ที่คุณจะได้ศึกษา เช่น กระบวนการรับข้อมูลของมนุษย์ , อารมณ์ , พฤติกรรม ตลอดจนรูปแบบความสัมพันธ์ อีกทั้งผู้เรียนคณะจิตวิทยายังต้องสามารถผสมผสานความรู้ให้เข้ากับกิจกรรมในด้านต่างๆได้ เช่น ครอบครัว , ระบบการศึกษา , การจ้างงาน เป็นต้น นอกจากนี้ยังต้องใช้ความรู้ทางจิตวิทยาเพื่อรักษาปัญหาสุขภาพจิตได้ เพราะนั้นสำหรับผู้ที่สนใจเรียนคณะนี้ ต้องเป็นคนที่ชอบ มีความสนใจเกี่ยวกับจิตใจของมนุษย์ , ชอบพูดคุย แลกเปลี่ยนทัศนคติอย่างหลากหลาย
นักจิตวิทยาสามารถแบ่งประเภทตามการศึกษา ได้ดังนี้…
- จิตวิทยาการศึกษา นำหลักการทางจิตวิทยามาใช้ ศึกษาพร้อมค้นหาปัญหาทางการศึกษา แล้วดำเนินการแก้ไข สร้างหลักการทางจิตวิทยาที่มีระบบอันเป็นวิธีการของตนเอง จัดเป็นศาสตร์ด้านหนึ่งของพฤติกรรมศาสตร์
- วิทยาพัฒนาการ ศึกษาความสามารถของมนุษย์ ตั้งแต่เกิดจนตาย อย่างมีกระบวนการอันเป็นลำดับขั้นตอนว่า มีกระบวนการพัฒนาของแต่ละช่วงวัยอย่างไร และดูแลเรื่องปฏิสัมพันธ์ระหว่างหน้าที่ต่างๆ ของจิตใจ
- จิตวิทยาสังคม ศึกษา-เรียนรู้พฤติกรรมของมนุษย์ในสังคม รวมถึงการปฏิสัมพันธ์ทั้งหมด เช่น ศึกษาการรับรู้ , ตอบสนอง ระหว่างบุคคล ตลอดจนอิทธิพลของบุคคลคนหนึ่งที่มีต่อผู้อื่น เป็นต้น
- จิตวิทยาการปรึกษา ช่วยให้มนุษย์รู้จักรวมทั้งมีความเข้าใจในตัวเองอย่างลึกซึ้งทุกแง่มุม ช่วยทำให้ผู้คนรู้จักโลกและสิ่งแวดล้อมรองข้างของตนเอง เพื่อนำไปพัฒนาศักยภาพให้สูงขึ้น รู้จักเลือกและตัดสินใจอย่างชาญฉลาดเพื่อแก้ปัญหา พร้อมปรับตัวอยู่ในสังคมอย่างมีความสุข
- จิตวิทยาอุตสาหกรรม นำความรู้มาใช้คัดเลือกบุคคล , พัฒนา , บริหาร , สร้างแรงจูงใจให้แก่ลูกจ้าง , วิจัยตลาด , วิจัยความสัมพันธ์ของมนุษย์ เพื่อตอบสนองต่อธุรกิจและอุตสาหกรรมต่างๆ
- จิตวิทยาคลินิค ศึกษาปัญหาทางด้านจิตใจของมนุษย์ โดยต้องพยายามค้นหาสาเหตุว่า แท้จริงแล้วการที่มนุษย์ที่มีพฤติกรรมเช่นนั้น หรือมีความผิดปกติทางจิตใจ มีสาเหตุมาจากอะไร จะได้แก้ไขปัญหาได้อย่างถูกจุด โดยนักจิตวิทยาคลินิกต้องใช้หลักการรวมทั้งความรู้ทางจิตวิทยามาวิเคราะห์ พร้อมบำบัดรักษาผู้ที่มีปัญหาทางด้านอารมณ์หรือพฤติกรรม เช่น โรคประสาท , โรคซึมเศร้า , ติดยาเสพติด , ความผิดปกติทางเชาวน์ปัญญา เป็นต้น เพื่อช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ให้สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ไปได้อย่างมีความสุข
สภาพการทำงาน
ตามปกติแล้ว จะต้องปฏิบัติงานในห้องเหมือนกับแพทย์ทั่วไป นอกจากนี้ยังต้องมีการออกไปเยี่ยมคนไข้ โดยต้องยอมรับให้ได้ว่าการปฏิบัติหน้าที่บางครั้งอาจมีความโอกาสเสี่ยงที่จะถูกคนไข้ทำร้าย มักมีอารมณ์ไม่ปกติได้ง่าย เพราะฉะนั้นห้องทำงานจึงต้องมีความปลอดภัย ต้องมีผู้ช่วยดูแลความปลอดภัยให้แก่นักจิตวิทยาด้วย อีกทั้งยังต้องปฏิบัติงานร่วมกับ นักจิตเวช , นักสังคมสงเคราะห์จิตเวช และพยาบาลจิตเวช